ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Soap pod tree
Soap pod tree
Acacia concinna (Willd.) DC.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Leguminosae (Mimosaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC.
 
  ชื่อไทย ส้มป่อย, ส้มป่อยป่า
 
  ชื่อท้องถิ่น ผ่อชิละ, ผ่อชิบูทู(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ส้มป่อย(คนเมือง,ไทลื้อ,เมี่ยน), แผละป่อย(ลั้วะ), ส้มคอน(ไทใหญ่), เบล่หม่าฮั้น(ปะหล่อง), เมี่ยงโกร๊ะ(ลั้วะ), พิจือสะ, พิฉี่สะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ไม้ส้มป่อย(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยทอดลำต้นเกาะเกี่ยวขึ้นไปตามไม้ใหญ่ได้
ลำต้นและกิ่งก้าน มีหนามแหลมคมขนาดเล็กปกคลุมทั่วไป
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับหูใบเป็นรูปหัวใจ ช่อใบย่อย 6 – 12 คู่ แต่ละช่อใบย่อย 8 – 36 คู่ เรียงตรงกันข้าม ใบย่อมไม่มี รูปรีโคนใบตัด ขอบใบขนานมีขนละเอียด ปลายใบมนหรือแหลม ขนาดใบย่อยกว้างยาว 0.8-3.0 x 3.5-11.0 มม.
ดอก ออกเป็นช่อรูปทรงกลม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ค่อนไปทางสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ปลายแหลม
ผล เป็นฝัก แบน ขอบขนานโค้งงอ
เมล็ด รีรูปไข่แบน กว้าง 4.0-8.0 มม. ยาว 6.5-10.0 มม. [8]
 
  ใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับหูใบเป็นรูปหัวใจ ช่อใบย่อย 6 – 12 คู่ แต่ละช่อใบย่อย 8 – 36 คู่ เรียงตรงกันข้าม ใบย่อมไม่มี รูปรีโคนใบตัด ขอบใบขนานมีขนละเอียด ปลายใบมนหรือแหลม ขนาดใบย่อยกว้างยาว 0.8-3.0 x 3.5-11.0 มม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อรูปทรงกลม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ค่อนไปทางสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ปลายแหลม
 
  ผล ผล เป็นฝัก แบน ขอบขนานโค้งงอ
เมล็ด รีรูปไข่แบน กว้าง 4.0-8.0 มม. ยาว 6.5-10.0 มม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน ใส่ในแกง เช่น แกงปลา(ลั้วะ,ไทลื้อ,คนเมือง)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหารเช่น แกงส้ม(คนเมือง,ลั้วะ)
ยอดอ่อน ใช้แกงใส่ปลาหรือเนื้อ(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน ใช้ใส่แกงเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว(เมี่ยน)
ยอดอ่อนและดอก ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(กะเหรี่ยง)
ยอดอ่อน นำไปผสมน้ำพริกห่อใบตองแล้วนำไปหมกรับประทาน หรือนำไปแกง(ปะหล่อง)
- ใบ ตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ฝักแก่ นำไปทำน้ำส้มป่อย ใช้ในพิธีพรรมต่างๆ(คนเมือง)
ฝักแห้ง ลนไฟแล้วนำไปแช่ในน้ำมนต์ ใช้ในงานพิธีต่างๆ(ไทลื้อ)
ฝักแห้ง ใช้ใส่น้ำมนต์ในงานมงคลต่างๆ(คนเมือง)
ฝักแห้ง แช่ในน้ำมนต์ในพิธีต่างๆ(ลั้วะ)
ฝักแก่ ตากให้แห้ง เก็บไว้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ทำน้ำ ส้มป่อย หรือนำมาผูกกับตาแหลว (เครื่องราง)(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ฝักดิบหรือแห้ง ขยำกับน้ำ หรือทุบแล้วแช่น้ำ ใช้สระผม(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผลแห้ง ต้มน้ำอาบและใช้ขัดตัว หรือแช่น้ำใช้สระผม(ไทใหญ่)
ฝักแห้ง นำไปต้มในน้ำแล้วใช้น้ำสระผม(ปะหล่อง)
เปลือกต้น นำมาทุบใช้ขัดตัวเวลาอาบน้ำหรือนำไปสระผม(ลั้วะ)
- ใบ รสเปรี้ยวฝาดร้อนเล็กน้อย ต้มดื่ม ถ่ายเสมหะ ถ่ายระดูขาว ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด ฟอกโลหิตระดู แก้โรคตา ตำประคบให้เส้นเอ็นอ่อน
ดอก รสเปรี้ยวฝาดมัน แก้เส้นเอ็นที่พิการให้สมบูรณ์
ฝัก รสเปรี้ยว ต้มหรือบดรับประทาน เป็นยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ไข้จับสั่น ทำให้อาเจียน แก้น้ำลายเหนียว ต้มเอาน้ำสระผม แก้รังแค ตำพอกหรือชุบสำลีปิดแผล แก้โรคผิวหนัง
เปลือกฝัก รสขมเปรี้ยวเผ็ดปร่า เจริญอาหาร กัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก
เมล็ดคั่ว บดละเอียด ใช้เป่าจมูกทำให้จาม
ต้น รสเปรี้ยวฝาด แก้น้ำตาพิการ
ราก รสขม แก้ไข้ [4]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[4] วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร : รวมหลักเภสัชกรรมไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และที่ราบเชิงเขา
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง